วันที่ 15 มกราคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วนิดา วอนสวัสดิ์ หัวหน้าสาขาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชินวัฒน์ ศาสนนันท์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จิตรลดา ชูมี อาจารย์ประจำแขนงวิชาเคมี และอาจารย์ประจำวิชา เป็นตัวแทนคณาจารย์แขนงวิชาเคมี สาขาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม ได้เดินทางไปนิเทศนักศึกษาชั้นปี 3 แขนงวิชาเคมี ที่เข้าไปฝังตัวในสถานประกอบการ เพื่อทำการเรียนการสอนร่วมกันกับสถานประกอบการณ์ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากบริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด (UAE) โดยมี นายภุชงค์ พาณิชย์เลิศอำไพ ผู้จัดการฝ่ายเคมี 2 และนางสาวน้ำเพชร ทองขาว (ศิษย์เก่าสาขาเคมี) ตัวแทนหัวหน้ากลุ่มปฏิบัติงาน ให้การต้อนรับ นักศึกษาแขนงเคมีได้เข้าฝังตัวและเรียนรู้จากสถานประกอบการณ์จริงในบริษัท UAE ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 และจะสิ้นสุดในวันที่ 19 มกราคม 2567
ในการไปฝังตัวและเข้าเรียนรู้จากสถานประกอบการร์จริงในครั้งนี้ นักศึกษาได้เข้าเรียนในวิชา เตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ วิชาเคมีวิเคราะห์ วิชาปฏิบัติการเคมีวิเคราะห์ และรายวิชาเคมีเครื่องมือขั้นสูง จากการพูดคุยกับทั้งผู้ประกอบการณ์กับนักศึกษาพบว่า ในด้านของนักศึกษา ต้องมีการปรับตัวในเรื่องการใช้ชีวิต การเดินทาง การบริหารจัดการเวลา และค่าใช้จ่าย ซึ่งทุกคนทำได้ดีมากและนักศึกษาประทับใจการทำงานกับพี่ๆ ในสถานประกอบการทั้งด้านวิชาการ การเรียนการสอน และด้านความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน นักศึกษารู้สึกประทับใจการดูแลเอาใจใส่ของพี่ๆ และหัวหน้างานในทุกแผนก นักศึกษาบางคนค้นพบแนวทางที่ตนเองชอบในสายงานวิชาชีพทางด้านเคมี ในส่วนของสถานประกอบการได้ชื่นชมการทำงาน การเรียนรู้ของนักศึกษา มีความใฝ่รู้ ปรับตัวได้ดี มีความรับผิดชอบ และยินดีรับนักศึกษาในรุ่นต่อไป ทางสถานประกอบได้กล่าวขอบคุณสำหรับการเข้าฝังตัวเรียนรู้ในครั้งนี้ เพราะช่วยให้สถานประกอบการปรับตัวเพื่อรองรับนโยบายระดับประเทศ และนักศึกษารุ่นนี้นับเป็นรุ่นบุกเบิก รุ่นแรกของการเข้าฝังตัวเรียนรู้ เนื่องจากขณะนี้ได้มีมหาวิทยาลัยอื่นกำลังติดต่อมาในลักษณะเดียวกัน บริษัทจึงกำลังวางแผนเพื่อเตรียมรับการเข้าฝังตัว นอกเหนือจากการฝึกงานที่เคยมี
ในการนี้สาขาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม แขนงวิชาเคมี ขอขอบคุณผู้บริหารบริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด (UAE) และพนักงานทุกท่าน ที่ให้โอกาสให้ความความรู้แก่นักศึกษาแขนงวิชาเคมี ใน 4 รายวิชาดังกล่าวข้างต้น ทำให้นักศึกษาได้รับความรู้และประสบการณ์ตรงไปพร้อมๆ กัน สามารถเรียนรู้ทฤษฏี และปฏิบัติได้จริง ได้บัณฑิตตรงตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย คือ เชี่ยวชาญวิชาการ ชำนาญวิชาชีพ เป็นดวงประทีปของสังคม ต่อไป